"คู่มือ...ทำกับข้าวเมืองเหนือประยุกต์" (ฉบับรีไซเคิ้ล) เล่มนี้ ผมขออนุญาตเรียกอย่างนี้ เพราะกระดากที่จะเรียกว่า "ตำรา" ผมเขียนขึ้นจากประสบการณ์ในการทำกับข้าวด้วยตนเองเกือบจะทุกวัน ตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่จนเกือบจะลาจากโลกใบนี้ไปแล้ว ส่วนหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นส่วนมากที่สุดมาจากความทรงจำในอดีต ที่ได้อาสาเป็นลูกมือช่วยผู้ใหญ่ทำกับข้าวอยู่เสมอ... และทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้ผมได้ตรวจสอบชำระข้อความบางท่อนบางตอนที่เป็นส่วนสาระสำคัญกับหนังสือ "ตำราทำกับข้าวเมืองเหนือ" เขียนโดย คุณสงวน โชติสุขรัตน์ ซึ่งเป็นบรมครูทางการหนังสือพิมพ์ขั้นปฐมของผม แล้วนำมาคลุกเคล้าผสมผสานเรียบเรียงเขียนขึ้นมาใหม่ในเชิง "เล่าสู่กันฟัง" ทั้งนี้ เพื่อสะดวกแก่คนรุ่นใหม่ จะได้นำเอาไปเป็น "คู่มือ" อนุรักษ์การทำกับข้าวของเมืองเหนือ ให้คงอยู่ถึงคนรุ่นต่อๆไป โดยคำนึงถึงวิธีการการทำกับข้าวเพื่อให้ทำกันได้อย่างง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร
"โปรดสังเกต.. ที่ช่อง url ด้านบนซ้าย ถ้าเป็น https กรุณาเปลี่ยนเป็น http แล้วกด enter เข้ามาใหม่ครับ"
@ คลิกที่นี่ ดูบนyoutube... @ ภาพรับปริญญามีต่อที่นี่... @ และที่นี่อีกจ้า... @ บัณฑิตรามฯรุ่น38(2555) ทุกคณะและทุกคน โหลดคลิปที่นี่...

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

"ของดีที่เกือบลืม" สารพัดน้ำผลไม้...


By: ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร


วิธีทำ น้ำผลไม้ ต่างๆ
ทำกินก็ได้...ทำขายก็ดี...เฮง...เฮง...


เพื่อความไม่ประมาท เตรียมตัวกันไว้ ถ้าตกงาน ไม่มีงานทำ หรือโดนไทร์ ไม่ต้องวอรี่...มีสูตรเด็ดๆมาบอก

บ้านเราเมืองเรามันเมืองร้อน แน่นอนพออากาศร้อนอบอ้าว ผู้คนก็คอแห้งกระหายน้ำเป็นธรรมดา นี่ไง...เราพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสน่ะ...ขยันเข้าไว้ ปรับปรุงสูตรของเราด้วยการเสาะหาไปซื้อของคนอื่นๆที่เขาขายดิบขายดีมั่ง จะได้มีไอเดียใหม่ๆเอามาปรับเข้ากับตัวเราเองไง รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะพันครั้ง...แหะ...แหะ...

ไปเจอกระดาษเก่าๆยับยู่ยี่ท่อนบนหายไปแถมขาดๆแหว่งๆอีก คลี่อ่านดู...อะสูตรลับนี่หว่า... "ใช้ผสมกับนำหว นำผิงกได กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน" อ่านแล้วไม่เข้าใจ...อะไรวะ...

อะ เราก็เรียนมาสายอักษรศาสตร์นี่หว่า...เลยลองเอามาลำดับความใหม่...เขียนใหม่... "ใช้ผสมกับน้ำหวาน น้ำผึ้งก็ได้ กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน" เข้าท่า...เข้าท่า ภาษาไทยของเราก็อย่างนี้แหละครับ เขียนไม่ครบวรรคตอนผิดที่ผิดทาง ความหมายของประโยคเปลี่ยนไปเป็นคนละเรื่องเดียวกันเชียวแหละ
























@ ไม่รีบเค้นออกมาจะเสียใจ...พรสวรรค์หรือความสามารถพิเศษของเด็กๆ

พูดถึงภาษาไทย...สมัยเรียนหนังสือบทอาขยานที่ท่องแล้วขึ้นใจ 45 กว่าปีมาแล้วยังจำอยู่ไม่รู้ลืม...

อันแรกเรื่องพระอภัยมณี... บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว...สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา...เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา...ประคองพาขึ้นไปบนบรรพต...แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์...มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด...ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด...ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน...มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน...บิดรมารดารักมักเป็นผล...ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แก่กายตน...เกิดเป็นคนคิดเห็นพึงเจรจา...แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ...ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา...รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา...รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี...จงคิดตามไปเอาไม้เท้าเถิด...จะประเสริฐสมรักเป็นศักดิ์ศรี...ครั้นเสร็จสรรพสำแดงแจ้งคดี...รูปโยคีหายวับไปกับตา...



อันที่สองเรื่องสังข์ทอง... มาจะกล่าวบทไป...ถึงท้าวสหัสนัยน์ไตรตรึงษา...ทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา...กระด้างดังศิลาประหลาดใจ...จะมีเหตุมั่นแม่นในแดนดิน...อมรินทร์เร่งคิดสงสัย...จึงสอดส่องทิพย์เนตรดูเหตุภัย...ก็แจ้งใจในนางรจนา...แม้นมิไปช่วยจะม้วยมอด...ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า...จำจะยกพหลพลเทวา...ลงไปล้อมพาราสามลไว้...ชวนเจ้าธานีตีคลีพนัน...น้ำหน้ามันจะสู้ใครได้...จะขู่ให้งันงกตกใจ...ออกไปหาบุตรสุดท้อง...พระสังข์ครั้งนี้จะถอดเงาะ...งามเหมาะไม่มีเสมอสอง...พ่อตาจะได้เห็นเป็นรูปทอง...ทั้งทำนองเพลงคลีตีต่อยุทธ...คิดพลางทางมีพจนารถ...สั่งมาตุลีเทพบุตร...จงเตรียมพลเทวาถืออาวุธ...นิรมิตเหมือนมนุษย์ชาวพารา...ทั้งหน้าหลังตั้งตามกระบวนทัพ...ให้เสร็จสรรพปีกซ้ายปีกขวา...เราจะยกพลไกรไคลคลา...ลงไปล้อมพาราท้าวสามล...

บัดนั้น...มาตุลีกราบงามสามหน...รีบออกมานอกไพชยนต์...เตรียมพลเทวัญมิทันนาน...

เมื่อนั้น...เชิดดดดดดด...รัวกลอง...ตูม...ตูม...ตูมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ.........