"ย้อนตำนาน..วางระเบิดเครื่องบินทักษิณ3มีนา2544"
By: "คนการเมือง"
"..วินาทีที่เครื่องบินเตรียมทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้านั้น ที่นั่งชั้นหนึ่งหมายเลข 11A ที่เขาได้จองไว้เกิดระเบิดขึ้นกะทันหัน ผู้โดยสารที่อยู่บริเวณรอบๆที่นั่งนั้นได้รับบาดเจ็บหลายคน แต่ที่โชคดีก็คือที่นั่งนี้ไม่มีใครนั่งอยู่ในตอนนั้น .. ทักษิณผู้ซึ่งตรงต่อเวลามาโดยตลอดตัดสินใจที่จะรอลูกชายซึ่งก็คือนายพานทองแท้ ที่มาถึงช้า วันนั้นลูกชายก็ไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมถึงมาช้า 25 นาที แต่ในที่สุดก็ได้ช่วยชีวิตพ่อของตนไว้ได้.."
วันที่ 3 มีนาคม 2544 หลายคนยังจำกันได้ในสมัย "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรี ในครั้งนั้นเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วประเทศและทั่วโลก เมื่อเครื่องบินของสายการบินไทยที่จอดเทียบท่าอยู่สนามบินดอนเมืองเพื่อรอรับผู้โดยสารบินไปยังจังหวัดเชียงใหม่ โดยหนึ่งในผู้โดยสารในเที่ยวบินดังกล่าว มีผู้นำของประเทศชื่อ "พ.ต.ต.ทักษิณ ชินวัตร" รวมอยู่ด้วย
ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณและลูกชายจะขึ้นเครื่องไม่กี่นาที เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้นกลางสนามบินดอนเมือง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้คนจำนวนมาก แต่ก็เป็นที่กังขาของหลายฝ่ายว่าระเบิดเครื่องบินไทยครั้งนั้นเกิดจากเหตุอะไรกันแน่ ลอบวางระเบิดนายกฯ..? วินาศกรรม..? ความประมาท..? อุบัติเหตุ..? จนวันนี้คำถามเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับความชัดเจน
24 ชั่วโมงของทักษิณ: บทที่ 1 เสียงโทรศัพท์ยามรุ่งอรุณ (ตอนที่1)
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทักษิณเอาชีวิตรอดมาได้ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เมื่อเขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 25 วันเขาก็ได้รับรู้รสชาติของการถูกลอบสังหารในวันนั้น
เครื่องบินโบอิ้ง 747 ลำหนึ่งของการบินไทยซึ่งบรรทุกผู้โดยสารจำนวน 129 คนเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ผู้โดยสารบนเครื่องซึ่งรวมทั้งทักษิณที่เพิ่งได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยลูกชายรวมทั้งข้าราชการจำนวน 20 คนเตรียมพร้อมขึ้นเครื่อง วินาทีที่เครื่องบินเตรียมทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้านั้น ที่นั่งชั้นหนึ่งหมายเลข 11A ที่เขาได้จองไว้เกิดระเบิดขึ้นกะทันหัน ผู้โดยสารที่อยู่บริเวณรอบๆที่นั่งนั้นได้รับบาดเจ็บหลายคน แต่ที่โชคดีก็คือที่นั่งนี้ไม่มีใครนั่งอยู่ในตอนนั้น
ทักษิณผู้ซึ่งตรงต่อเวลามาโดยตลอดตัดสินใจที่จะรอลูกชายซึ่งก็คือนายพานทองแท้ ที่มาถึงช้า วันนั้นลูกชายก็ไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมถึงมาช้า 25 นาที แต่ในที่สุดก็ได้ช่วยชีวิตพ่อของตนไว้ได้.....
* * * * *
@ คลิกลิ้งค์นี้.. "24 ชั่วโมงของทักษิณ"
"..เสียงโทรศัพท์เช้าวันนั้น "ฮัลโหล ฉันเอง พวกเขาอาจจะก่อรัฐประหาร" .. พวกเขาเป็นใครกัน? ผมวางใจง่ายไปหน่อย ไม่ใช่ว่าผมมั่นใจเกินไป แต่เป็นเพราะผมคิดว่า คนที่ตรงไปตรงมาและซื่อสัตย์ไม่น่าทำเรื่องเช่นนี้ นี่มันศตวรรษที่ 21 แล้วนะ ยุคสมัยที่อาศัยอาวุธยึดอำนาจมันหมดไปแล้ว ผมคิดไม่ถึงว่าพวกเขาจะทำเช่นนี้ นึกไม่ถึงว่าจะกล้าเช่นนี้.."
* * * * *
• การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ภายหลังเครื่องบินเกิดเหตุระเบิด
เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน กองสรรพาวุธ สถาบันนิติเวชวิทยา พนักงานสอบสวนกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และแผนกทำลายวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้นำเขม่าที่ติดอยู่กับชิ้นส่วนของเครื่องบินและที่ศพผู้เสียชีวิตไปตรวจสอบด้วยเครื่องมือ Gas Chromatograph พบสาร Research Department Explosive (RDX) เป็นส่วนใหญ่ และสารประกอบประเภท Chlorates ด้วย โดยที่สาร RDX เป็นส่วนประกอบ สำคัญของดินระเบิดแบบซีโฟร์ (Composition-4) คณะพนักงานสอบของ สตช.ได้ข้อสรุปเบื้องต้น เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2544 ว่า
การระเบิดขึ้นในบริเวณห้องเก็บสินค้าส่วนด้านหน้าในสุดค่อนไปทางซ้ายของลำตัวเครื่องบินบริเวณใต้ที่นั่งชั้นประหยัด (Y-Class) หมายเลข 32-36 ห่างจากที่นั่งชั้นธุรกิจ (J-Class) ประมาณ 5-6 แถว
รายงานการปฏิบัติของคณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักรกรณีเครื่องบินแบบ BOEING 737-400 เกิดเหตุเพลิงไหม้
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ รายงานการปฏิบัติของคณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอากาศยาน ในราชอาณาจักร กรณีเครื่องบินแบบ BOEING 737-400 เกิดเหตุเพลิงไหม้ สรุปได้ดังนี้
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เครื่องบินแบบ BOEING 737-400 เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน HS-TDC ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เกิดเพลิงลุกไหม้เครื่องบินทั้งลำ ขณะจอดอยู่ที่บริเวณหลุมจอดที่ 62 ท่าอากาศยานกรุงเทพ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 6 คน เสียชีวิตจำนวน 1 คน และเครื่องบินได้รับความเสียหายทั้งลำ
เครื่องบินลำดังกล่าวซึ่งทำการบิน เส้นทางภายในประเทศและเส้นทางระหว่าง ประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 ได้ทำการบินมาแล้วจำนวน 4 เที่ยวบิน คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-ตรัง และ ตรัง-กรุงเทพฯ เส้นทาง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และ พิษณุโลก-กรุงเทพฯ ขณะที่เครื่องบินจอดบริเวณหลุมจอดที่ 62 อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อจะทำการบินในเที่ยวบินที่ 5 เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในเวลา 15 นาฬิกา 15 นาที โดยก่อนเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานต่อเครื่องบิน จำนวน 5 กลุ่ม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัท การบินไทยฯ ได้ทำการตรวจซ่อมเครื่องปรับอากาศของเครื่องบินลำนี้ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เวลา 11 นาฬิกา 25 นาที ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ก่อนทำการบินไปท่าอากาศยานพิษณุโลก ต่อมาเวลาประมาณ 15 นาฬิกา 40 นาที เครื่องบินลำดังกล่าวได้เกิดระเบิด และเกิดเพลิงลุกไหม้บริเวณกลางลำตัวเครื่องบินลุกลามไปส่วนต่างๆของเครื่องบินอย่างรวดเร็ว และอีก 18 นาทีต่อมา ถังเชื้อเพลิงที่ปีกขวาเกิดระเบิด จากเหตุการณ์นี้ทำให้เครื่องบินได้รับความเสียหายทั้งลำ
• การปฏิบัติของหน่วยที่รับผิดชอบภายหลังเครื่องบินเกิดเหตุระเบิด
1. เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน กองสรรพาวุธ สถาบันนิติเวชวิทยา พนักงานสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และแผนกทำลายวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ได้นำเขม่าที่ติดอยู่กับชิ้นส่วนของเครื่องบินและที่ศพผู้เสียชีวิตไปตรวจ สอบด้วยเครื่องมือ Gas Chromatograph พบสาร Research Department Explosive (RDX) เป็นส่วนใหญ่ และสารประกอบประเภท Chlorates ด้วย โดยที่สาร RDX เป็นส่วนประกอบสำคัญของดินระเบิดแบบซีโฟร์ (Composition-4) คณะพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2544 ว่าการระเบิดเกิดขึ้นในบริเวณห้องเก็บสินค้าส่วนด้านหน้าในสุด ค่อนไปทางซ้ายของลำตัวเครื่องบิน บริเวณใต้ที่นั่งชั้นประหยัด (Y-Class) หมายเลข32-36 ห่างจากที่นั่งชั้นธุรกิจ (J-Class) ประมาณ 5-6 แถว
2. ในวันที่ 6 มีนาคม 2544 คณะกรรมการสอบสวนฯ ได้จัดให้มีการประชุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ปรากฏว่าที่ประชุมยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการก่อวินาศกรรมหรืออุบัติเหตุ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้คณะกรรมการสอบสวนฯจะดำเนินการควบคู่ไปกับคณะกรรมการสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็น Accredit Representative และคณะที่ปรึกษา เข้าร่วมการสอบสวนกับคณะกรรมการสอบสวนฯ
3. ต่อมาคณะเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานสหรัฐฯ ได้แก่ National Transportation Safety Board (NTSB) เป็น หน่วยงานในการสอบสวนกรณียานพาหนะของสหรัฐอเมริกาประสบอุบัติเหตุ และ Federal Aviation Abministration (FAA) เป็นหน่วยงานที่ควบคุมเกี่ยวกับกฎระเบียบการบินของสหรัฐฯ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของบริษัทโบอิ้ง Boeing ได้ขอเข้าร่วมการสอบสวนกับคณะกรรมการสอบสวนฯในฐานะประเทศผู้สร้างเครื่องบิน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็น Accredit Representative และเป็นคณะที่ปรึกษา หลังจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตรวจสอบซากเครื่องบินพบว่ามีการระเบิดของถังเชื้อเพลิงกลางลำตัวเครื่องบิน (Center Tank) โดยสาเหตุหลักที่นำไปสู่การระเบิดของถังเชื้อเพลิงฯนั้น สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากเหตุ 3 ประการ คือ
1) การวางระเบิดในห้องผู้โดยสาร (Cabin) เหนือบริเวณถังเชื้อเพลิงกลางลำตัวเครื่องบิน
2) จากระบบของเครื่องบิน บริเวณถังเชื้อเพลิงกลางลำตัวเครื่องบิน
3) จากเหตุอื่นๆ ซึ่งยังไม่สามารถพบหลักฐานในขณะนี้
4. จากการนำชิ้นส่วนตัวอย่างส่งไปวิเคราะห์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเบื้องต้นไม่พบสาร RDX และต้องนำชิ้นส่วนตัวอย่างอื่นๆของเครื่องบินไปทำการวิเคราะห์หาสารเคมีต่อไปซึ่งจะต้องใช้เวลาในการตรวจพิสูจน์อีกระยะหนึ่ง
ในวันที่ 21 มิถุนายน 2544 NTSB ได้มีหนังสือแจ้งผลการดำเนินงานไปแล้ว โดยได้ถอดและแยกชิ้นส่วนต่างๆที่นำมาจากเครื่องบินเพื่อทำการตรวจสอบอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่พบต้นเหตุของการจุดระเบิด ปั๊มเชื้อเพลิงและเครื่องวัดเชื้อเพลิงยังต้องทำการตรวจสอบต่อไปเนื่องจากพบว่ามีรอยขูดขีดและมีวัตถุแปลกปลอมถูกกดเข้าไป ในขณะที่ FUEL GAGE CONNECTOR เกิดความเสียหาย ซึ่งอาจเนื่องมาจากไฟฟ้าลัดวงจร จึงต้องทำการตรวจสอบ โดยใช้ SCANNING ELECTRON MICROSCOPE ขณะนี้ได้ทำการทดสอบปั๊มเชื้อเพลิงไปแล้วหนึ่งเรื่อง และกำลังวางแผนในการทดสอบอื่นๆต่อไป เพื่อหาความเป็นไปได้ของ การเกิดประกายไฟ ขณะที่วัตถุแปลกปลอมถูกดูดเข้าไป และแหล่งของการจุดระเบิดที่เป็นไปได้ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของมอเตอร์หรือลูกปืนปั๊มเชื้อเพลิงเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการระบายความร้อนจากเชื้อเพลิง
ในวันที่ 6 สิงหาคม 2544 คณะเจ้าหน้าที่จาก NTSB และ BOEING จำนวน 5 คน ได้เดินทางมายังประเทศไทย และได้บรรยายสรุปการปฏิบัติงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ณ ห้องประชุม ฝ่ายเสนาธิการทหารอากาศ โดยมี ประธานคณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักร เป็นประธานฯ โดยสรุปได้ดังนี้ ที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบเพิ่มเติมหลังจากที่บรรยายสรุป คณะเจ้าหน้าที่จาก NTSB และ BOEING ได้เดินทางไปโรงเก็บซากชิ้นส่วนเครื่องบิน เพื่อตรวจสอบและคัดเลือกชิ้นส่วนใหม่ที่เกี่ยวข้องในช่วงระหว่างวันที่ 6-10 สิงหาคม 2544 ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการสอบสวนฯ ทั้งนี้ เพื่อนำไปตรวจสอบเพิ่มเติม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
จากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ ซากเครื่องบิน ชิ้นส่วนต่างๆ ตลอดจนการส่งชิ้นส่วนไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการอย่างละเอียด ขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่คาดว่าจะนำไปสู่การระเบิด แต่มีอุปกรณ์หลายอย่างอยู่ระหว่างการตรวจสอบวิเคราะห์ เช่น เครื่องวัดปริมาณเชื้อเพลิงอาจมีการลัดวงจรเกิดขึ้นภายในเครื่องวัด สวิตซ์ไฟฟ้า (FLOAT SWITCH) ในถังเชื้อเพลิงด้านขวาเกิดการแตกร้าว ปั๊มเชื้อเพลิงที่ถังเชื้อเพลิงกลางพบมีสิ่งแปลกปลอมและรอยขีดข่วนเกิดขึ้นภายใน และถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิต (STATIC ELECTRICITY) ที่สาย BONDING ของชุด VENT VALVE ของถังเชื้อเพลิง เป็นต้น ในการดำเนินการขั้นต่อไปของคณะเจ้าหน้าที่จาก NTSB จะได้ทำการตรวจสอบวิเคราะห์ต่างๆที่มีสิ่งผิดปกติดังกล่าวข้างต้น และนำชิ้นส่วนใหม่
ในวันที่ 2 ตุลาคม 2544 The National Transportation Safety Board (NTSB) ได้แจ้งให้ทราบว่า
1. จากการพบร่องรอย (Marks) ที่บริเวณ Pump Inlets NTSB ร่วมกับ Federal Aviation Administration (FAA) และบริษัท Boeing ได้จัดเตรียมแผนการตรวจสอบการทำงานของ Pump ดังกล่าว ซึ่งห้องทดลองได้ถูกสร้างขึ้นโดย บริษัท Boeing
2. ชิ้นส่วนต่างๆได้แก่ Wiring, Fuel Vent Valves, Fuel Quantity Probes และ Fuel Filter ได้ถูกจัดส่งไปยังห้องทดลองต่างๆเพื่อทำการตรวจสอบ ในวันที่ 4 ตุลาคม 2544 NTSB ได้แจ้งให้ทราบว่า มีความจำเป็นต้องรื้อ Wing Tank Fuel Pumps ทั้งสอง เพื่อตรวจสอบ ซึ่งจะทำให้ Pumps ทั้งสองดังกล่าวไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก คณะกรรมการสอบสวนฯจึงได้แจ้งให้ NTSB ทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป
ในวันที่ 4 มกราคม 2545 NTSB ได้ส่งรายงานการตรวจสอบรูบริเวณผนังด้านข้างของเครื่องบินว่า ลักษณะรอยแตกและการเสียรูปของรูดังกล่าว เกิดจากการโดนวัตถุทะลุพื้นผิวจากภายนอกเข้าไปยังภายใน จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบไว้ในชั้นหนึ่งก่อน และหากมีข้อมูลเพิ่มเติมจักได้รายงานให้ทราบต่อไป.
* * * * *
รายงานพิเศษ ย้อนตำนานคาร์บอมบ์
* * * * *
• สิงหา2549 คาร์บอมบ์????? ก่อนยึดอำนาจ19ก.ย.
พ.ต.ท.ทักษิณ: ถ้าดูจากการวางกระสอบทราย การบังคับทิศทางอะไรต่างๆ เจ้าหน้าที่ รปภ. ตนเห็นรถคันนี้ที่จอดอยู่ เขาวิทยุแจ้งข้างหลังว่ามีรถเป้าหมาย เพราะเนื่องจากเขามีรูปถ่ายรถคันนี้อยู่ เมื่อวันที่ 9 ส.ค. มีตุ๊กตา มีอะไรรูปพรรณสัณฐาน และทะเบียนปลอมที่ใช้ก็ใช้ทะเบียนเดิมกับที่ไปจอดเมื่อวันที่ 9 ส.ค. โดยจอดที่ทางออกสนามบิน เมื่อวานที่ผมพูดบางคนไม่รู้ นึกว่ารถไปวนเวียนที่บ้านไม่ใช่ คือไปตั้งแต่วันที่ 9-10 ส.ค.นั้นคือที่ บน.6 ทางออกจาก บน.6 แถวร้านเจ๊เล้งตรงนั้น
คำถาม: เห็นบอกว่ามีคนอยู่เบื้องหลังเป็นกลุ่มบุคคล
พ.ต.ท.ทักษิณ: วันนั้นที่เขาบอกมามันมีชื่อ ประมาณ 4 คน เป็นทหารหมดเลย
คำถาม: ผู้ต้องหายังปากแข็งจะทำให้เป็นปัญหาสาวไม่ถึงตัวบงการ
พ.ต.ท.ทักษิณ: ที่ให้การค่อนข้างจะโกหกอย่างชัดเจน เพราะรถคันนี้ออกจาก กอ.รมน. บังเอิญเราให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปขอความร่วมมือเอาสมุดคุมรถเข้า-ออก ก็รู้ว่ารถคันนี้ออกเมื่อเวลา 05.45 น. ออกจาก กอ.รมน.
คำถาม: แสดงว่าดูจากหลักฐานแล้วเป็นการวางแผนกันเป็นขบวนการ
พ.ต.ท.ทักษิณ: ใช่
คำถาม: ขบวนการตรงนี้ใหญ่มากจะสาวถึงตัวผู้บงการหรือไม่
พ.ต.ท.ทักษิณ: พอรู้กลุ่ม แต่ต้องจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่ม ....."
@ นำรถประกอบระเบิดย่อส่วนทดสอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา พ.ต.อ.ปรีชา ธิมามนตรี รองผู้บังคับการหัวหน้าศูนย์สืบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล พ.ต.ท.กำธร อุ่ยเจริญ สว.กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษกองบัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมกำลังชุดพนักงานสอบสวนและศูนย์ข้อมูลกองปราบปราม ประสานไปยังหัวหน้าหน่วยทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อขอทดสอบระเบิดจำลองย่อส่วนขนาด 1 ต่อ 4 แบบเดียวกับที่คนร้ายใช้ในรถแดวูซุกระเบิดคันก่อเหตุที่ยึดได้ขณะ ร.ท.ธวัชชัย 1 ในผู้ต้องหากำลังขับบริเวณเชิงสะพานกรุงธน โดยใช้รถยนต์จริงเป็นตัวทดสอบ และมีอุปกรณ์ระเบิดประกอบด้วยระเบิดซีโฟร์ 0.8 ปอนด์ ระเบิดทีเอ็นที 2 ปอนด์ สารเอ็นโฟร์ซึ่งมีส่วนประกอบของสารยูเรียผสมน้ำมันดีเซล 16.8 กก. ฝักแคชนิดเอ็ม 7 เชื้อปะทุไฟฟ้าทางทหารชนิดเอ็ม 6 กระสอบทราย
เมื่อเดินทางไปถึงบริเวณที่โล่งภายในค่าย ซึ่งมีการจัดหารถเก๋งเก่าคันหนึ่งเตรียมไว้แล้ว พ.ต.ท.กำธรได้นำส่วนประกอบระเบิดย่อส่วนประกอบใส่ไว้ภายในรถ โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จึงแล้วเสร็จ โดยมีวงจรจุดระเบิดแบบคลื่นสั้นของรถบังคับติดไว้บริเวณใต้ที่นั่งคนขับเหมือนกับที่พบในรถแดวู หลังจากนั้นชุดทดสอบทั้งหมด ได้กันเจ้าหน้าที่ให้ห่างออกไปจากรถประมาณ 300 เมตร ส่วนผู้จุดระเบิดคือ พ.ต.ท.กำธรยืนอยู่ห่างจากรถที่ใช้ทดสอบประมาณ 150 เมตร
@ ผลรถแหลก-ถ่ายวิดีโอเก็บเป็นหลักฐาน
หลังจากการเตรียมการเสร็จเรียบร้อย พ.ต.ท.กำธรได้กดระเบิดจนเกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ตัวถังรถเก่าที่นำมาทดสอบถูกฉีกกระจายออกเป็นชิ้นๆ เหลือเพียงคัดซีรถและเครื่องยังติดกับตัวถังอยู่ จากการตรวจสอบแรงระเบิดมีระยะทำลายประมาณ 100 เมตร จากการคำนวณถ้าใช้ระเบิดจำนวนตามที่คนร้ายใช้ รัศมีการทำลายน่าจะมีระยะทำการประมาณ 500 เมตร แรงระเบิดจะมีอานุภาพทำลายทั้งจากแรงอัด เนื่องจากประกอบด้วยสารเอ็นโฟร์ ซึ่งเป็นระเบิดความดันต่ำ และสารซีโฟร์และทีเอ็นที ซึ่งเป็นระเบิดความดันสูง ซึ่งมีอำนาจการฉีกทำลายรุนแรง ทำให้วัตถุที่อยู่ในรัศมีฉีกขาด กลายเป็นสะเก็ดระเบิดจำนวนมหาศาล เมื่ออยู่ในที่ชุมชนหรือที่สาธารณะเช่นเชิงสะพานบางพลัดจุดเกิดเหตุ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในการดำเนินการครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ทำการถ่ายภาพวิดีโอ ภาพนิ่ง ไว้ตลอดการทดลอง เพื่อประกอบเข้าสำนวนการสอบสวน.
* * * * *
@ 19 ส.ค.2552 ศาลทหารยกฟ้องคดีคาร์บอมบ์ลอบฆ่าทักษิณ
"..จากพยานหลักฐานศาลพิพากษาว่า จำเลยทั้ง 3 ร่วมกันกระทำความผิดใน 3 ข้อหา 1.ร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียบเคียง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 236 และมาตรา 63 โดยลงโทษจำคุกคนละ 4 ปี ข้อหาที่ 2 ร่วมกันเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดและพาไปในเขตเมืองโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งมีโทษปรับ 4,000 บาท และข้อหาที่ 3 คือ ร่วมกันมียุทธภัณฑ์ โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ลงโทษจำคุก 2 ปี รวมโทษทุกกระทงจำคุกจำเลยทั้ง 3 คน 6 ปี ปรับคนละ 4,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ให้การเป็นประโยชน์จึงให้ลดโทษเหลือ 4 ปี 6 เดือน ปรับ 3,000 บาท ส่วนข้อหาพยายามฆ่า พ.ต.ท.ทักษิณ จากคำให้การของพยานไม่อาจมีหลักฐานบ่งชี้ได้ จึงไม่สามารถรับการลงโทษได้ จึงให้ยกฟ้องข้อหานี้ และข้อหาอื่น.."
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์คณะตุลาการศาลทหารกรุงเทพได้ใช้เวลาอ่านคำพิพากษาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังรับฟังคำพิพากษาจำเลยทั้ง 3 มีสีหน้านิ่งเรียบเฉย ทั้งนี้ นายวันชัย ขันสุวรณ ทนายความจำเลยได้ยื่นหลักทรัพย์รายละ 8 แสนบาท เพื่อขอประกันตัว โดยจำเลยทั้ง 3 จะยื่นขออุทธรณ์คำตัดสินภายใน 15 วันตามกฎหมาย.
* * * * *
@ คลิกลิ้งค์นี้.. รออีกแป๊บนุงนะคะ..
* * * * *