"คู่มือ...ทำกับข้าวเมืองเหนือประยุกต์" (ฉบับรีไซเคิ้ล) เล่มนี้ ผมขออนุญาตเรียกอย่างนี้ เพราะกระดากที่จะเรียกว่า "ตำรา" ผมเขียนขึ้นจากประสบการณ์ในการทำกับข้าวด้วยตนเองเกือบจะทุกวัน ตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่จนเกือบจะลาจากโลกใบนี้ไปแล้ว ส่วนหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นส่วนมากที่สุดมาจากความทรงจำในอดีต ที่ได้อาสาเป็นลูกมือช่วยผู้ใหญ่ทำกับข้าวอยู่เสมอ... และทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้ผมได้ตรวจสอบชำระข้อความบางท่อนบางตอนที่เป็นส่วนสาระสำคัญกับหนังสือ "ตำราทำกับข้าวเมืองเหนือ" เขียนโดย คุณสงวน โชติสุขรัตน์ ซึ่งเป็นบรมครูทางการหนังสือพิมพ์ขั้นปฐมของผม แล้วนำมาคลุกเคล้าผสมผสานเรียบเรียงเขียนขึ้นมาใหม่ในเชิง "เล่าสู่กันฟัง" ทั้งนี้ เพื่อสะดวกแก่คนรุ่นใหม่ จะได้นำเอาไปเป็น "คู่มือ" อนุรักษ์การทำกับข้าวของเมืองเหนือ ให้คงอยู่ถึงคนรุ่นต่อๆไป โดยคำนึงถึงวิธีการการทำกับข้าวเพื่อให้ทำกันได้อย่างง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร
"โปรดสังเกต.. ที่ช่อง url ด้านบนซ้าย ถ้าเป็น https กรุณาเปลี่ยนเป็น http แล้วกด enter เข้ามาใหม่ครับ"
@ คลิกที่นี่ ดูบนyoutube... @ ภาพรับปริญญามีต่อที่นี่... @ และที่นี่อีกจ้า... @ บัณฑิตรามฯรุ่น38(2555) ทุกคณะและทุกคน โหลดคลิปที่นี่...

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

รหัสลับ..สิบล้อ.., เคล็ดลับ..ดูแลรถยนต์หน้าร้อน, 5อาการก่อนเกียร์ออโต้เจ๊ง..


รหัสลับ..สิบล้อ..
By: ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร

คนขับขี่รถอย่างเราควรจะรู้ไว้บ้าง สามารถช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้..

"เรียนรู้-เข้าใจ สัญญาณไฟจากรถบรรทุก"

สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนในยามค่ำคืน ที่เดินทางต่างจังหวัดบ่อยๆ มักจะพบเจอกับบรรดารถบรรทุก รถทัวร์ รถโดยสาร เป็นเพื่อนร่วมทางอยู่เสมอ

ซึ่งเมื่อเราขับรถเข้าใกล้รัศมีของรถบรรทุกเหล่านั้น รถบรรทุกมักจะเปิดไฟเป็นสัญญาณลักษณะต่างๆ โดยการเปิดไฟกระพริบ ไฟสูง ไฟเลี้ยว

บางท่านที่ยังไม่ทราบความหมายอาจสงสัยว่า เอ๊ะ! เค้าเปิดไฟแบบนี้ ต้องการบอกอะไรกับเรานะ?

บทความนี้เราจะมาไขความหมายถึงสัญญาณไฟลักษณะต่างๆ ที่พี่รถบรรทุกคันใหญ่ยักษ์ส่งมาให้ได้ทราบกัน

ภาพลักษณ์ของรถบรรทุกขนาดใหญ่มักออกมาในทางลบจากเหตุการณ์อุบัติเหตุต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นโดยมีรถบรรทุก หรือเรียกกันติดปากว่า "สิบล้อ" ร่วมอยู่ในอุบัติเหตุเหล่านั้น

แต่จะมีใครทราบหรือไม่ว่า จริงๆแล้วก็ยังมีพี่สิบล้อใจดีอีกมากมายที่คอยส่งสัญญาณไฟ เพื่อบอกและเตือนให้ทราบถึงเส้นทางข้างหน้า และบอกถึงสถานการณ์ปัจจุบันในการขับขี่กับผู้ร่วมทางอย่างเราๆ

เริ่มจาก..

@ ระวัง!!
เมื่อไหร่ที่สังเกตเห็นรถบรรทุกคันหน้าให้สัญญาณเป็นลักษณะไฟเลี้ยวซ้ายที-ขวาที สลับกัน นั่นหมายความว่าเขากำลังส่งสัญญาณบอกให้เราระวัง เพราะเขากำลังจะเบรก ทางข้างหน้าอาจมีด่านหรือเกิดอุบัติเหตุอยู่ เพราะฉะนั้นให้เราชะลอความเร็ว วิ่งด้วยความเร็วต่ำ และห้ามแซง

@ ให้ทาง
หากเราขับรถตามพี่สิบล้อคันใหญ่ แล้วรู้สึกว่ารถบรรทุกคันหน้าวิ่งช้า และกำลังตัดสินใจจะแซง ขณะที่เราจะแซงนั้นสังเกตเห็นว่า รถบรรทุกเปิดไฟเลี้ยวซ้ายทั้งที่ไม่มีทางแยกหรือทีท่าจะเลี้ยวแต่อย่างใด นั่นหมายถึงเขากำลังบอกเราว่า ทางข้างหน้าปลอดภัย สามารถแซงออกขวาได้

@ ห้ามแซง
ถ้าเป็นเหตุการณ์เหมือนข้อที่แล้ว ที่เราคิดจะแซงรถบรรทุก แล้วมีสัญญาณไฟเลี้ยวขวากระพริบขึ้นมา นั่นแสดงว่าเขาจะบอกเราเป็นนัยๆ ว่าห้ามแซง อาจมีโค้ง หรือมีรถสวนมา หรืออาจมีอุปสรรคอยู่ข้างหน้า ไม่ควรที่จะแซง ถ้าแซงอาจทำให้แซงไม่พ้น ให้รอก่อน และเมื่อพี่สิบล้อคันข้างหน้าเห็นว่าทางสะดวกสามารถแซงได้ ก็จะเปิดไฟเลี้ยวซ้ายส่งสัญญาณให้เราแซงได้อย่างสะดวกในเวลาต่อมา

@ ขอทางหน่อย จะตรงไป
กรณีคุณขับรถตามรถบรรทุกที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรตรงสี่แยก แล้วสังเกตเห็นรถบรรทุกเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน นั่นก็หมายความว่า เขากำลังจะตรงไป หากคันหลังจะตรงก็ตามมาได้เลย แต่ถ้าหากคันหลังต้องการจะเลี้ยวซ้ายหรือขวาก็สามารถเลี้ยวได้ตามสะดวก

@ ช่วยส่องไฟ
ในการเดินทางในยามค่ำคืน เราอาจะพบกับสภาพท้องฟ้าปิด ทำให้ถนนและเส้นทางที่เรากำลังเดินทางนั้นมืดสนิท ทัศนวิสัยต่ำมองเห็นเส้นทางค่อนข้างลำบาก และเมื่อเราพบกับพี่สิบล้ออยู่ข้างหน้า และเรากำลังจะแซง ในบางครั้งอาจพบว่ารถบรรทุกเปิดไฟสูง สาเหตุก็เพื่อเป็นการส่องทางข้างหน้าช่วยให้เราเห็นเส้นทางได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเปิดค้างไว้จนกว่าเราจะแซงรถบรรทุกพ้น และจะดับไฟสูงลงเมื่อเรากลับเข้าเลนได้ ถ้าเราเจอคนขับน่ารักๆแบบนี้ เมื่อแซงพ้นแล้วก็บีบแตรสั้นๆ ขอบคุณสักนิด เขาก็จะบีบแตรตอบกลับมา...ซึ่งการใช้รถใช้ถนนแบบนี้ ถือเป็นผู้ร่วมทางที่น่ารักมากเลยทีเดียว

@ ข้างหน้ามีเหตุ
ในกรณีที่เราวิ่งสวนทางกับรถบรรทุก แล้วพี่สิบล้อส่งสัญญาณไฟโดยดับไฟหน้าและเปิดขึ้น แสดงว่าเขากำลังบอกเราว่าทางข้างหน้ามีด่านหรืออุบัติเหตุรุนแรงให้ชะลอความเร็ว คาดเข็มขัดนิรภัย หรือให้เราเตรียมความพร้อมกับเหตุการณ์ข้างหน้าด้วย

@ เช็คเพื่อนร่วมทาง
หากเห็นรถบรรทุกวิ่งสวนมา แล้วกะพริบไฟสูง 1 ครั้ง มี 2 กรณีคือ เตือนรถที่วิ่งสวนทางกันมา หรือเป็นการถามว่าทางที่เราผ่านมามีด่านหรืออุบัติเหตุอะไรหรือเปล่า ถ้าทุกอย่างปกติดี ก็กะพริบไฟหน้าตอบเขาไป 1 ครั้ง แต่หากมีด่านหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นก็ให้ดับไฟหน้าและเปิดขึ้น เหมือนกรณีข้างหน้ามีเหตุ เพื่อเป็นการเตือนพี่สิบล้อให้เตรียมพร้อมกับทางข้างหน้า

@ ข้างหน้ามีด่าน
หากเห็นรถบรรทุกคันที่สวนมา อยู่ดีๆ กะพริบไฟหน้าพร้อมเปิดไฟเลี้ยวมาทางฝั่งเรา นั่นแสดงว่าข้างหน้ามีด่าน ให้เตรียมตัวและระมัดระวัง เตรียมชะลอความเร็ว และใช้ความเร็วต่ำ หากยังวิ่งด้วยความเร็วสูงอาจเกิดอันตรายได้

@ ขอทาง!
หากเห็นรถบรรทุกวิ่งกันมาเป็นแถวๆ แล้วจู่ๆ มีคันในแถวแฉลบหัวรถออกมาพร้อมกะพริบสูงไฟ 1 ครั้ง นั่นแสดงว่าเขากำลังขอทางและบอกเราว่ากำลังจะเร่งเครื่องแซง ขอใช้ทางวิ่งในเลนของเรา ให้เราระวัง ชะลอความเร็ว และถ้าเราพร้อมจะเปิดทางก็กะพริบไฟสูงตอบกลับไป 1 ที

เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงหายสงสัยกันแล้วสินะ ว่าสัญญาณไฟต่างๆที่พี่รถบรรทุกเปิดตลอดเส้นทางที่ขับร่วมทางกันมาในยามค่ำคืนนั้นคืออะไร

จากสิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงน้ำใจที่มีต่อเพื่อนร่วมทาง ตลอดเส้นทางการขับขี่ ทำให้เห็นแง่มุมดีๆ และเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้ขับรถบรรทุกที่เราเรียกกัน "สิบล้อ" ให้ดีขึ้นจากเดิมได้

แล้วตรองดูสักนิดว่าเขาเหล่านั้นยังเป็นแบบที่เราคิดในแง่ลบต่างๆนานา อยู่หรือเปล่า??

ขอขอบคุณข้อมูล,รูปภาพ จาก www thairath co th , www manager co th , one rescue

ที่มา: http://tiretruckintertrade.blogspot.com/2014/09/blog-post_28.html

รักสิบล้อรอสิบโมง รอยัลสไปรท์ส

ไม่รักแกล้งหลอก - ดอน สอนระเบียบ


เคล็ดลับ..ดูแลรถยนต์หน้าร้อน
By: ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร

อากาศร้อนแบบนี้ การดูแลรถยนต์ย่อมต้องหาวิธีช่วยลดความร้อน เพื่อยืดอายุการใช้งาน ยานยนต์..

"มติชน" ขอแนะนำวิธีดูแลรถยนต์ช่วงหน้าร้อนดังนี้

1. เช็กระดับน้ำระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์ เช็กได้สองจุด คือ เช็กหม้อน้ำ ต้องระวัง ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำในขณะหม้อน้ำยังมีความร้อนสูง เพราะจะทำให้น้ำร้อนในหม้อน้ำพุ่งออกมาโดน ควรเช็กขณะหม้อน้ำยังเย็น โดยเปิดฝาหม้อน้ำดูว่าระดับน้ำอยู่บริเวณคอหม้อน้ำหรือไม่ ถ้าขาดก็ควรรีบเติมทันที

และอีกเรื่องช่วยลดความร้อนก็คือ สารหล่อเย็น สามารถนำสารหล่อเย็นเติมผสมกับน้ำเปล่า เพื่อสารหล่อเย็นจะเป็นตัวช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพขึ้น

เช็กถังพักน้ำ ทำได้ง่ายๆ เพียงสังเกตถังพักน้ำว่าระดับน้ำนั้นอยู่ระดับไหน จะมีระดับน้ำแจ้งอยู่ 2 ระดับ คือ Min-Max ไม่ควรให้ระดับน้ำในถังพักน้ำต่ำกว่าระดับ Min โดยเด็ดขาด และไม่ควรเติมน้ำให้เกินระดับที่เขียนว่า Max ด้วย

2. เช็กซีลยางใต้ฝาปิดหม้อน้ำ วัสดุนำมาใช้จะเป็นโลหะ แต่ด้านใต้ของฝาหม้อน้ำ จะมียางรองเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมออกมา เป็นจุดต้องตรวจสม่ำเสมอ ถ้าซีลยางเริ่มแข็งตัวไม่นิ่มบ่งบอกว่ายางเสื่อมสภาพ ควรซื้อฝาหม้อน้ำมาเปลี่ยนทันที

3. การตรวจสภาพท่อยางน้ำ เป็นอีกจุดที่ควรตรวจอย่างละเอียด เพราะตัวท่อยางน้ำจะเป็นเส้นทางเดินน้ำในระบบหล่อเย็น วิธีตรวจคือ ให้นำมือไปรองบีบตัวท่อยางดูว่ามีรอยแตกที่ตัวท่อยาง หรือมีรอยน้ำรั่วตรงจุดไหนบ้าง ถ้าไม่มีรอยแตกรอยรั่ว ต้องสังเกตท่อยางน้ำมีอาการบวมหรือไม่ ถ้าเริ่มบวมควรรีบเปลี่ยนทันที

4. พัดลมระบายความร้อนเครื่องยนต์ จะทำหน้าที่เป่าลมผ่านหม้อน้ำเพื่อระบายความร้อน ในช่วงรถติดพัดลมระบายความร้อนจะทำงานหนักมาก การสังเกตว่าพัดลมระบายความร้อนทำงานเป็นปกติหรือไม่ ให้ดูจากแรงลมปะทะมือ หรือฟังเสียงของพัดลมดูว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรรีบเข้าไปตรวจที่ศูนย์บริการหรืออู่ที่ไว้ใจได้โดยทันที

5. อย่าเร่งแอร์สู้ความร้อนในรถ เมื่อขึ้นรถควรไล่อากาศร้อนจัดออกก่อน ด้วยการเปิดหน้าต่าง พร้อมปรับพัดลมแอร์สูงสุดเพื่อดันความร้อนโดยเร็ว หรือจะใช้วิธีเปิด-ปิดประตูรถเพื่อระบายความร้อนก็ได้ จะไม่ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานหนัก เสียหายง่าย และช่วยประหยัดน้ำมันด้วย หากจอดในพื้นที่ปลอดภัยก็แง้มหน้าต่างไว้บ้าง ทำให้ความร้อนในห้องโดยสารไม่สะสมสูงเกินไป ช่วยรักษาวัสดุภายในรถไม่ให้แห้ง กรอบ แตก เร็ว

6. หมั่นขยับส่วนประกอบที่เป็นยาง ความร้อนของแดดที่สะสม อาจทำให้วัสดุยางละลายจนเหนียวและด้าน เมื่อถึงเวลาใช้งานก็ฉีกขาด หมั่นเปิด-ปิดให้ขอบยางได้ขยับบ้าง เช่น หน้าต่าง ประตูหลัง กระโปรงท้ายรถ หลังคาซันรูฟ และที่ปัดน้ำฝน ควรขยับอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งจะช่วยยืดอายุได้

7. เติมลมยางรถยนต์มากขึ้น การเติมแรงดันลมยางให้มากกว่าปกติ 2-3 ปอนด์ ช่วยป้องกันการเปิดตัวของแก้มยาง หากยางอ่อน แก้มยางเกิดการบิดตัวได้มากและร้อนง่ายกว่าปกติ อาจส่งผลให้แรงดันภายในของยางรถสูงขึ้นจนระเบิดได้ ควรหมั่นตรวจสภาพยางมากกว่าปกติ เพราะหน้าร้อนจะเห็นอาการของยางบวมได้ชัดเจน เมื่อเจอปัญหาควรรีบเปลี่ยนยาง.

คอลัมน์ คาร์ทิปส์ : มติชนรายวัน
http://www.matichon.co.th/news/122937

หน้าร้อนกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์

เคล็ดลับจอดรถตากแดดไม่ให้ร้อนจี๋

วิธีการเปลี่ยน-ถ่ายน้ำหม้อน้ำรถยนต์ด้วยตัวเอง

5อาการก่อนเกียร์ออโต้เจ๊ง..
By: ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร


ระบบส่งกำลังแบบอัตโนมัติที่เคยให้ความสบายในการขับขี่ไม่ต้องคอยมานั่งเหยียบครัตช์ให้วุ่นวาย มาวันหนึ่งเกียร์ออโต้ก็เกิดเดี้ยงขึ้นมาถึงเวลาต้องเสียเงินเสียทองกันอีกแล้ว เกียร์มาเจ๊งเอาในช่วงเปิดเทอมยิ่งทำให้บีบรัดกระเป๋าเงินหนักข้อเข้าไปอีก อุตส่าห์ใช้อย่างระวังก็ยังไม่วายเจ๊ง

มาดูอาการก่อนที่เกียร์ออโต้จะลากลับบ้านเก่ากันดีกว่า

1- วิ่งเกียร์เดียวปราดเปรียวว่องไว (ซะที่ไหน)

เกียร์อัตโนมัติบางรุ่นหากเกิดการขัดข้องหรือมีการทำงานที่ผิดพลาดไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากอายุการใช้งานหรือการขับที่ผิดวิธี จะมีการปรับเข้าสู่โหมดการขับฉุกเฉินแค่ประคองขับได้เกียร์เดียวคือเกียร์ 3 เมื่อ ECU ที่ควบคุมเกียร์พบเจอความผิดปกติของการทำงาน สมองกลไฟฟ้าที่ควบคุมการทำงานของเกียร์ออโต้ลูกนั้นจะสั่งให้วิ่งแค่เกียร์เดียวนั่นก็คือเกียร์สามตั้งแต่ต้นยันจบไม่สามารถเปลี่ยนขึ้นหรือลงได้แต่พอที่จะถอยหลังได้ พร้อมๆกับไฟสัญลักษณ์รูปเฟืองที่ติดขึ้นมาบนมาตรวัดเพื่อแจ้งให้คุณรีบนำเจ้าลูกชายตัวแสบไปตรวจสอบระบบเกียร์เป็นการด่วน

บางครั้งหากไฟโชว์เตือนเกียร์เจ๊งติดๆดับๆ ลองให้ช่างตรวจสอบจุดที่เชื่อมต่อเซ็นเซอร์หรือล้างทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายกรองเกียร์กับน้ำมันเกียร์ก็อาจโชคดีหายขาดโดนแค่หางเลขเบาะๆ ไม่ถึงกับกระเป๋าฉีก

แต่หากช่างตรวจพบการสึกหรอเสียหายในระบบเกียร์และมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนหรือหนักกว่านั้นก็เปลี่ยนเกียร์ใหม่กันทั้งลูกอันนั้นก็ถือซะว่าเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดจัดกันจนเหงื่อตกเมื่อเห็นบิลค่าซ่อมหรือค่ายกเกียร์ใหม่ทั้งลูก

2- กดคันเร่งเพื่อแซงแต่ไม่แรงเหมือนอย่างเคย

ขับมาดีๆ พอเจอรถช้าก็อยากจะแซง กดคันเร่งลงไป รอบเครื่องกวาดทะยานขึ้นไปสี่-ห้าพันรอบต่อนาทีพร้อมเสียงเครื่องยนต์ดังกระหึ่มราวกับรถแข่งแต่รถก็ยังไม่ตอบสนองพุ่งทะยานเหมือนอย่างเคย

กดจนมิดขาแทบจะทะลุพื้นรถเจ้าลูกชายตัวแสบก็ยังคงวิ่งเอื่อยๆ แบบทองไม่รู้ร้อนทั้งๆ ที่เมื่อก่อนพอคิกดาวน์ลงคันเร่งลึกๆ เกียร์จะเปลี่ยนลงต่ำเพื่อเรียกแรงบิดสำหรับการเร่งความเร็วหรือเพื่อแซงรถช้า

หากรถของคุณเกิดอาการดังกล่าวแสดงว่าเกียร์ออโต้ต้องมีการพบกับช่างซ่อมเสียแล้ว ภาวนาให้อย่าเป็นอะไรมากในสภาวะที่ย่ำแย่แบบนี้ เบาหน่อยเพราะใช้รถญี่ปุ่นก็หลักหมื่นหรือหลายหมื่น หนักหน่อยเพราะขับรถแพงพวก Benz / BMW ก็หลักแสนหรือหลายแสน สบายกันไปท่านผู้ชม

3- เกียร์กระตุกยังกับคนเป็นพาร์กินสัน

เมื่อก่อนตอนออกมาใหม่ๆ ก็เปลี่ยนเกียร์เรียบเนียนดี แต่อยู่กันไปอยู่กันมาชักจะงอแง เปลี่ยนเกียร์แต่ละครั้งกระตุกกระชากจนเล่นเอากิ๊กใหม่กิ๊กเก่าตกอกตกใจ ไม่ว่าเกียร์จะเปลี่ยนขึ้นหรือลงก็กระชากปับๆสะท้านมาถึงร่องก้น

อีแบบนี้ไม่ควรดันทุรังขับต่อเดี๋ยวจะเจ๊งไปกันใหญ่โต รีบนำตัวแสบไปให้ช่างเกียร์ที่คิดว่าไม่ฟันคุณคอขาดและมีความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพซ่อมเกียร์ไม่ได้รับอีดาบรอลูกค้าอยู่หลังอู่ หาอู่ซ่อมเกียร์ดีๆ เพื่อตรวจสอบดีกว่าขับไปเรื่อยๆ แบบไม่สนติ้วใดๆทั้งนั้นสุดท้ายคุณจะพบรักกับรถสไลส์ออนเข้าจนได้

4- เข้าเกียร์ถอยแต่ดันไม่ถอย

ก่อนจะเจอกับอาการถอยหลังไม่ได้นี้ จะมีการเตือนก่อนแทบจะทุกครั้งคือ เมื่อต้องการจะถอยหลัง ใส่เกียร์ R หรือเกียร์ถอยแล้วต้องรอกันสักครู่ไม่ใช่ยัด R ปั๊บก็ถอยปุ๊บเหมือนตอนป้ายยังแดงอยู่ ซึ่งมีการตอบสนองที่สดใสใหม่ปิ๊ง

ใช้งานกันมาได้พอสมควรแก่เวลาหรือวิ่งมาเป็นแสนๆ เกียร์ออโต้ก็ต้องสึกหรอตามอายุการใช้งานเป็นเรื่องธรรมดา

หากผลิตเกียร์ที่เหนียวโคตรไม่ยอมพังง่ายๆ แม้จะกระแทกกระทั้นดันเกียร์กันตลอดก็ยังไม่ยอมพัง แบบนี้บริษัทผู้ผลิตเกียร์อาจเจ๊งเสียก่อนเพราะเกียร์ไม่ยอมเสียทำให้ขายชิ้นส่วนหรือขายเกียร์ใหม่ไม่ได้เจ๊งกระจายกันไป

เกียร์ถอยที่พอเข้าแล้วต้องรอนานผิดปกติบอกให้ทราบถึงความผิดปกติในระบบเกียร์ เมื่อยังไม่มีเวลาหรือยังไม่มีเงินซ่อมก็ต้องทนใช้กันไป

จากที่เคยรอนานแล้วค่อยไหลถอยหลังกลายมาเป็นนิ่งสนิทไม่ตอบโต้อะไรทั้งสิ้น อีแบบนี้เกียร์เจ๊งแน่นอน เบาหน่อยก็แค่เปลี่ยนผ้าครัตช์ หนักหน่อยก็ยกเกียร์ใหม่ทั้งลูกขึ้นอยู่กับอาการ

5- เครื่องเย็นดันไม่แล่นต้องรอเครื่องร้อน

สตาร์ตเครื่องเลื่อนคันเกียร์ไป D แต่ไม่มีอะไรในกอไผ่ รถยังจอดอยู่กับที่แม้จะถอนเท้าออกจากเบรกกดไปที่คันเร่งพ่อเจ้าประคุณตัวแสบก็ยังนิ่งทำเป็นทองไม่รู้ร้อนทั้งๆ ที่จะต้องรีบแจว ยัดก็แล้วโยกคันเกียร์ก็แล้วยังดื้อไม่ยอมไป พออุณหภูมิเครื่องยนต์อยู่ในเกณฑ์ร้อนรถถึงยอมขยับตัวด้วยความเกียจคร้าน

แบบนี้เห็นทีจะต้องไปพบรักกับช่างซ่อมบำรุงเกียร์กันอีกแล้ว แผ่นครัตช์ของเกียร์ออโต้แบบทอร์คคอนเวอร์เตอร์ ใช้งานไปเป็นแสนมันก็ต้องสึกหรอตามธรรมดา ซ่อมครัตช์ทั้งที ยกชุดครัตช์ของเกียร์ 1-2-3-4-5 ไปเลยจะดีกว่า เปลี่ยนชุดที่พังเดี๋ยวตัวอื่นพาลพังตามขึ้นมาอีกจะเข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก

โอริงที่ทำงานมานมนานก็เริ่มเสื่อมสภาพบล็อกน้ำมันไม่อยู่ต้องรอให้เครื่องร้อนก่อนถึงขยายตัวและบล็อกน้ำมันได้ตัวแสบถึงจะยอมวิ่งออกไปได้ แบบต้องร้อนรุ่มกลุ้มอุราถึงจะวิ่งออกอย่างนี้ก็ไม่ไหว

โอริงใหม่ๆ ทุกตำแหน่งแบบจ่ายแพงหน่อยการซ่อมบำรุงก็จบไม่มาจุกจิกกวนอารมณ์ในสภาพอากาศคล้ายนรกแบบนี้ จะมาเลือกเปลี่ยนโอริงเฉพาะเกียร์ถอย ไม่ยอมเปลี่ยนโอริงในเกียร์อื่นๆ แบบคนขี้เหนียว

หาอู่หาช่างที่ไม่ได้ลับมีดลับขวานรอดักฟันลูกค้าที่เกียร์พังซึ่งโชคดียังพอมีอยู่อีกมาก

ช่างและอู่ที่ให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับลูกค้า คิดค่าซ่อมไม่แพงแถมยังรับประกันการทำงานคงต้องไปสืบหากันเอาเอง แนะนำไปเกิดไม่ถูกใจพระเดชพระคุณท่านจะพาลซวยโดยใช่เหตุ

ขอให้มีความสุขในวันหยุดครับ.

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/

ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/616887

ระบบเกียร์อัตโนมัติ CVT