สนามบินเจ็ดชั่วโคตร
By: "คนการเมือง"
"..พ.ศ.2516 รัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ซื้อที่ดินหนองน้ำ 20,000 ไร่ บริเวณหนองงูเห่า จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับสร้างสนามบินใหม่ .. ผ่านมาผ่านไปหลายๆรัฐบาลสนามบินแห่งนี้ก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จสักที .. เวลาเกือบ 30 ปีต่อมา รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้เร่งการก่อสร้างตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2545 ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 4 ปีเศษๆก็สร้างเสร็จ หลังจากนั้นก็ได้มีการทดลองบินเป็นเที่ยวปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2549.."
จากสนามบินซึ่งคนไทยเราต้องรอนานถึง 46 ปี ผ่านไปไม่รู้กี่รัฐบาลก็ยังสร้างไม่ได้สักที จนได้รับฉายาว่า "สนามบินเจ็ดชั่วโคตร" แต่บัดนี้กลายมาเป็น "ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ"
ใครจะว่าไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ก็ช่าง ผมถือว่า "สนามบินสุวรรณภูมิ" เป็นสิ่งที่ผมภูมิใจในฐานะคนไทยคนหนึ่ง
แนวคิดในการก่อสร้าง ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองในกรุงเทพมหานคร เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ.2503 *(ผมอายุ 13 ปี กำลังเรียนชั้น ม.4 --ธนวุฒิ)* ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ต่อมา พ.ศ.2516 รัฐบาลทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ซื้อที่ดินหนองน้ำ 20,000 ไร่ บริเวณหนองงูเห่า จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับสร้างสนามบินใหม่ .. ผ่านมาผ่านไปหลายๆรัฐบาลสนามบินแห่งนี้ก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จสักที
เวลาเกือบ 30 ปีต่อมา รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เห็นว่า สนามบินมีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว และด้านอื่นของประเทศเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงกำหนดให้ การก่อสร้าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องร่วมกันดำเนินการแบบบูรณาการ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย จึงได้เร่งการก่อสร้างตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ.2545
ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 4 ปีเศษๆก็สร้างเสร็จ หลังจากนั้นก็ได้มีการทดลองบินเป็นเที่ยวปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2549 *(ผมอายุ 59 ปี --ธนวุฒิ)* ก่อนที่จะมีการปฏิวัติเดือนกว่าๆ และได้มีการเปิดให้บริการจริงในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549 ภายหลังการปฏิวัติเพียง 9 วัน
* * * * *
* * * * *
(เริ่ม19:33) ความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จใน ศก.สมัยใหม่ทักษิณ ชินวัตร
* * * * *
(ดูบนYouTube) ความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จใน ศก.สมัยใหม่ทักษิณ ชินวัตร
* * * * *
"เบื้องหลังการเจรจากับญี่ปุ่นในการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ"
ผมขอเริ่มตอนที่หนึ่งโดยการเล่าเรื่องเบื้องหลังการเจรจากับญี่ปุ่นในการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิครับ
ปี 2544 ผมได้ประกาศว่าจะยกเลิกการประกวดราคาก่อสร้างอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งประกวดราคาโดยรัฐบาลก่อนเป็นวงเงิน 54,000 ล้านบาทเศษ โดยออกแบบรองรับผู้โดยสารได้ 35 ล้านคน ซึ่งขณะนั้นผมเห็นว่าแพงและจำนวนผู้โดยสารที่รองรับได้น้อยไป เกรงจะไม่พอ เปิดปุ๊บก็ต้องเต็มปั๊บ ทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในขณะนั้นก็วิ่งมาพบผมและขอคัดค้านเพราะเรากู้เงิน JBIC อยู่ โดยบอกว่าจะยกเลิกเงินกู้
ผมก็นั่งคิด เนื่องจากเรายังไม่พ้นวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อ ก.ค. 40 แต่ถ้าเรากลัวไม่ได้กู้เงิน เราก็ต้องสร้างสนามบินที่แพงเกินจริงและรองรับผู้โดยสารได้น้อยเกินไป เพราะจะสร้างใหม่ทั้งทีอุตส่าห์รอกันมาตั้ง 40 ปี ขณะนั้นผมอ่านออกว่าทูตญี่ปุ่นกลัวว่าประกวดราคาใหม่บริษัทญี่ปุ่นจะไม่ชนะประมูล เรื่องการไม่ให้กู้เงินคงจะไม่จริง
ผมก็เลยบอกไปว่าผมจำเป็นต้องยกเลิกการประมูลและแก้แบบใหม่ให้รองรับผู้โดยสารจาก 35 ล้านคนเป็น 45 ล้านคน ถ้าญี่ปุ่นไม่ให้กู้ก็ไม่เป็นไร ผมใช้เงินแบงค์กรุงไทยกับแบงค์ออมสินก็ได้ ผมก็เลิกการประมูล แก้แบบเป็น 45 ล้านคน และให้มีการประมูลใหม่
ผลปรากฏว่าราคาลดลงจาก 54,000 ล้านบาท เป็น 36,666 ล้านบาท ประหยัดไป 17,000 ล้านบาทเศษ พร้อมกับรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 10 ล้านคน จาก 35 เป็น 45 ล้านคน ซึ่งขนาดเพิ่มแล้ววันนี้หลังจากเปิดไม่กี่ปีก็เต็มแล้ว ทั้งๆที่ไปใช้ดอนเมืองด้วย
และในที่สุด ท่านทูตญี่ปุ่นคนเดิมก็กลับมาขอร้องให้เราใช้เงินกู้ JBIC ต่อไปเหมือนเดิม (การเจรจาต้องรู้ความต้องการของเขาและของเรา)
ถ้าท่านจำได้ช่วงผมเป็นนายกฯใหม่ๆ ผมได้ประกาศว่าไทยจะไม่ยอมกู้เงินนอกเด็ดขาดยกเว้นสัญญาที่มีอยู่เดิม ทั้งๆที่ตอนนั้นเรามีเงินสำรองอยู่ 27-28 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่เรามีหนี้ต่างประเทศมากกว่าเงินสำรองเรามาก รวมทั้งหนี้ IMF ถึง 12,000 ล้าน
ผมเข้าใจโลกทุนนิยมดีครับ มันเปรียบเสมือนว่าเมื่อแดดออก มีแต่คนจะเอาร่มมาให้เราถือเต็มไปหมดทั้งๆที่เราไม่ต้องใช้ แต่ยามฝนตก เราอยากได้ร่มสักคันก็ไม่มีใครให้ยืม เพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างคำว่า Trust & Confident ให้ได้ เงินถึงจะมา
ผมเลยใช้นโยบายว่า กัดฟันไม่กู้เงินนอกเท่านั้น ต่างประเทศก็เริ่มมั่นใจขึ้น เงินต่างประเทศก็เริ่มเข้ามาประกอบกับการปรับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นให้สอดคล้องกัน ทำให้พ่อค้านำเข้าและส่งออกที่เก็บเงินไว้ต่างประเทศก็เริ่มนำกลับเข้ามา เสถียรภาพเงินบาทก็แข็งขึ้น เงินสำรองก็มากขึ้นจนเราสามารถใช้หนี้ IMF ได้ ซึ่งตอนเกิดวิกฤตตอนเราต้องยืมเงิน IMF ทุกคนก็คิดว่าต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปีกว่าจะใช้หนี้ได้
ตอนที่ผมตัดสินใจใช้หนี้หลายคนก็ห้ามผมว่าทำไมต้องรีบใช้ เดี๋ยวเงินสำรองจะพร่องมากไปไม่พอใช้ บังเอิญผมมีประสบการณ์เป็นนักกู้เงินมาก่อน ถ้าเราเป็นหนี้แล้วใช้คืนได้เขาถึงว่าเราเป็นลูกค้าชั้นดีที่จะให้กู้มากขึ้นอีก ผมก็เลยสั่งให้ใช้หนี้ทั้งหมดทีเดียว หม่อมอุ๋ยขอต่อรองเป็นอีก 6 เดือน ผมก็เลยบอกว่าผมประกาศเลยนะว่าอีก 6 เดือนจะชำระ
ก็เลยเกิดการชำระหนี้ IMF ก่อนครบกำหนดถึง 2 ปี ทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยดีขึ้นมาก เงินก็เริ่มไหลเข้าประเทศไทยอย่างต่อเนื่องจนเรากลายเป็นประเทศที่เรียกว่าเป็น Net Creditor Nation คือเป็นประเทศที่มีเงินฝากเป็นเงินตราต่างประเทศมากกว่าเงินกู้ต่างประเทศ โดยรวมตัวเลขทั้งภาครัฐและภาคเอกชนด้วย เป็นครั้งแรกของไทย
สรุปก็คือว่าถ้าเรามียุทธศาสตร์การเงินและการทำงานที่ควบคู่กันได้ดี เราจะสร้างTrust & Confident ให้กับองค์กรของเรา(ซึ่งในที่นี้ก็คือประเทศ) แล้วเราจะเติบโตได้ เพราะจะมีเงินทุนเข้ามาให้เราได้ใช้บริหารและสร้างรายได้อย่างไม่จำกัดครับ
วันนี้เอาเท่านี้ก่อนครับ.
Me and My Country (1)
ดร.ทักษิณ ชินวัตร
8 ตุลาคม 2556
https://www.facebook.com/thaksinofficial
* * * * *
มิติใหม่ทางการบริหาร ดร.ทักษิณ ชินวัตร (น่าจะ2546) พูดเมื่อ 7ม.ค.2547
* * * * *
มิติใหม่ทางการบริหาร ดร.ทักษิณ ชินวัตร พูดเมื่อ 7ม.ค.2547 (น่าจะ2546)
* * * * *