เพราะเหตุใด?? รถจักรยานยนต์ หรือ รถยนต์ สูญหาย ไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไปอีก..
By: ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร
เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อ เป็นสัญญาเช่าชนิดหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับการเช่า ตามมาตรา 567 บัญญัติว่า
มาตรา 567 ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปทั้งหมดไซร้ ท่านว่าสัญญาเช่าก็ย่อม ระงับไปด้วย
หมายความว่า ถ้ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไป โดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตามกฎหมาย คู่สัญญาสิ้นความผูกพันเสมือนไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อต่อกันอีกต่อไป
หากการเช่าซื้อยังคงผ่อนชำระไม่หมดผู้เช่าซื้อก็ไม่ต้องผ่อนชำระงวดที่เหลือในอนาคต
หลักการนี้เป็นบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567
ในกรณีไฟแนนซ์ หรือ ลิสซิ่ง ที่ให้เช่าซื้อ ทำสัญญาบังคับให้ผู้เช่าซื้อ ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเช่าซื้อต่อไป แม้ว่ารถยนต์นั้นจะสูญหายไปตามสัญญาก็ตาม สัญญาฉบับนั้น ก็ตาม(ข้อกำหนอในสัญญา) ก็ไม่สามารถบังคับได้ เพราะขัดต่อประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้สัญญาธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ.2555 ในข้อ 5 (4)
ข้อ ๕ ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีความหมายทำนองเดียวกัน ดังต่อไปนี้....
(๔) ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนตาม สัญญา ในกรณีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย ถูกทำลาย ถูกยึด ถูกอายัด หรือถูกริบ โดยมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ เว้นแต่ค่าเสียหาย หรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อ ค่าทนายความหรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ใช้จ่ายไปจริง โดยประหยัดตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร)
แต่การที่สัญญาจะระงับตามกฎหมายต้องปรากฏหมายว่า เหตุที่รถสูญหายไปนั้น ไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ
และที่สำคัญ ผู้เช่าซื้อต้องแสดงให้เห็นว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษาทรัพย์สินเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงรักษาทรัพย์สินของตนเองหรือไม่
เพราะโจทก์ (ผู้ให้เช่าซื้อ) ไม่อาจทราบได้เองว่า ขณะรถยนต์สูญหาย จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังเพียงใด
คดีนี้...ปรากฏว่า จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี ไม่สืบพยาน (คือจำเลยไม่มาศาลเพื่อสู้คดี) จึงไม่มีพยานหลักฐานให้ศาลพิจารณาได้ว่า จำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังในการดูแลทรัพย์สินหรือไม่ ศาลจึงต้องฟังว่าเหตุที่รถที่เช่าซื้อสูญหายเป็นความผิดของจำเลยที่1 ดังนั้น จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดใช้ราคาค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ สัญญาเช่าซื้อไม่ระงับไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567
(คำพิพากษาฎีกาที่ 6531/2558)
ที่มา: http://everyday-thailand.blogspot.com/2016/03/blog-post_10.html
ในกรณี ที่เช่าซื้อรถยนต์ และ ถูกไฟแนนซ์ บังคับให้ทำประกันภัย รถหาย โดยให้ไฟแนนซ์รับผลประโยชน์ เต็มจำนวน หรือบางส่วน
By: ธนวุฒิ ดุษฎีปัญจพร
ต่อมารถหาย...ไฟแนนซ์ไปเรียกค่าสินไหมจาก บริษัทประกันภัยแล้ว ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้เช่าซื้อ ชำระค่างวดที่เหลืออีกต่อไป
คดีนี้ ไฟแนนซ์ใช้สิทธิไม่สุจริต ได้เงินจากประกันไปแล้วยังไม่พอ แต่กับมาบังคับ ให้โจทก์ (ผู้เช่าซื้อ) ชำระค่างวด อีก 10 งวดที่เหลือ โดยอ้างว่า มีข้อตกลงในสัญญาให้รับผิดชอบ (ถ้าปัจจุบันนี้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ) โจทก์ หลงเชื่อหรือกลัวว่าจะถูกฟ้อง ก็กัดฟันส่งจนหมด เสียเงินไป สองแสนเศษ
ครั้นมาปรึกษาทนาย จึงได้ความว่า เสียค่าโง่ ผ่อนกุญแจตั้ง สองแสนกว่าไปฟรีๆ
โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง ให้จำเลย โอนรถคันใหม่ให้ หรือ คืนเงินค่างวด ที่โจทก์จ่ายไป
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า..
ค่าเสียหายกรณีรถยนต์ที่ผ่อนสูญหาย การผ่อนรถยนต์โดยทำสัญญาเช่าซื้อที่มีข้อกำหนดในสัญญาให้ผู้เช่าซื้อต้องจัดทำสัญญาประกันภัย กรณีที่รถยนต์สูญหาย โดยให้ผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้รับประโยชน์ และกำหนดในสัญญาด้วยว่า ถ้ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายอันผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบ ผู้เช่าซื้อต้องจ่ายค่างวดที่เหลือจนครบนั้น ถ้าผู้ให้เช่าซื้อได้รับค่าชดใช้สองทาง คือ จากผู้เช่าซื้อที่ต้องจ่ายค่างวดที่เหลือจนครบ และก็รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยด้วย กรณีเช่นนี้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาวินิจฉัยว่า กรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไป ผู้ให้เช่าซื้อได้รับค่าสินไหมทดแทนสองทางโดยได้จากผู้เช่าซื้อและจากบริษัทประกันภัย อันเป็นการเกินกว่าค่าเสียหายที่ได้รับ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ผู้ให้เช่าซื้อต้องคืนค่าเช่าซื้อดังกล่าวให้ผู้เช่าซื้อ
(คำพิพากษาฎีกาที่ 4819/2549)
ที่มา: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=203073903390507&set=a.121037008260864.1073741828.100010636963592&type=3&theater